Comments system

[blogger]

Songphra Channel - ส่องพระ ชาแนล

Songphra Channel - ส่องพระ ชาแนล

  • หน้าแรก
  • ประวัติพระเกจิอาจารย์
  • เรื่องเล่า อิทธิฤทธิ์ ครูบาอาจารย์
  • ธรรมะ

ประวัติ ครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน

 


 

ครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย (ไทยถิ่นเหนือ: ᩕᨣᩪᨷᩤᨧᩮᩢ᩶ᩣᩈᩦᩅᩥᨩᩱ᩠ᨿ) เป็นพระเถระชาวจังหวัดลำพูน ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างและบูรณะพุทธศาสนสถานหลายแห่งทั่วภาคเหนือของประเทศไทย จนได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา

ชาติกำเนิด


ครูบาศรีวิชัยเกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ปีขาล เวลาพลบค่ำ ขณะนั้นมีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรือ อ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อควาย ส่วนมารดาชื่ออุสา นายควายบิดาเป็นบุตรของนายอ้าย กับนางน้อยธิดาของหมื่นผาบ (มาต่า) หมอคล้องช้างชาวกะเหรี่ยงแดงจากเมืองกันตรวดีที่เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ชวนมาอยู่ลำพูนด้วยกัน ส่วนนางอุสามารดาของท่าน บางแห่งว่าเป็นชาวเมืองเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นธิดาหนานไจยา ชาวเมืองลี้ เพ็ญสุภา สุขคตะสรุปว่าครูบาศรีวิชัยมีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดงจากฝั่งบิดา และอาจมีเชื้อสายกะเหรี่ยงขาวและยองจากฝั่งมารดา


เมื่ออายุได้ 18 ปี ท่านคิดว่าชาตินี้เกิดมายากจนเพราะในอดีตไม่ได้ทำบุญไว้เพียงพอ จึงควรออกบวชรักษาศีลปฏิบัติธรรมไว้เพื่อประโยชน์สุขในภายหน้า และจะได้ตอบแทนพระคุณมารดาบิดาทางหนึ่งด้วย ท่านจึงลาบิดามารดาไปอยู่วัดบ้านปาง ศึกษาเล่าเรียนและบวชเป็นสามเณรกับพระอาจารย์ขัติยะ (หรือครูบาแข้งแขะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) จนอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาในการอุปสมบทว่า “สีวิเชยฺย" มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย

อธิกรณ์
ชื่อเสียงของครูบาเจ้าศรีวิชัยทำให้พระสังฆาธิการในจังหวัดลำพูนบางรูปนำโดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูนตั้งอธิกรณ์กล่าวหาว่าท่าน 8 ข้อ เช่น ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์ ซ่องสุมกำลังผู้คน คิดขบถต่อบ้านเมือง และนำท่านไปจำไว้ที่ลำพูนและวัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ จากนั้นจึงได้ส่งตัวท่านไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องพระศรีวิชัย ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ พระญาณวราภรณ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต) และพระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ได้ถวายรายงานมีความเห็นว่า ข้อ 1-5 ซึ่งเกี่ยวกับการไม่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายปกครอง พระศรีวิชัยรับสารภาพและได้รับโทษแล้ว ข้อที่เหลือซึ่งเกี่ยวกับการอ้างคุณวิเศษ พระศรีวิชัยไม่มีความผิด เพราะประชาชนเล่าลือไปเอง และเจ้าคณะลงโทษเกินไป ควรปล่อยพระศรีวิชัยกลับภูมิลำเนา สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณโรรสทรงเห็นชอบ


มรณภาพ


ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ. 2482) ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการบูชา อัฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วแผ่นดินล้านนาดังนี้
ส่วนที่ 1 บรรจุที่ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
ส่วนที่ 2 บรรจุที่ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง
ส่วนที่ 4 บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
ส่วนที่ 5 บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
ส่วนที่ 6 บรรจุที่ วัดน้ำฮู จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ส่วนที่ 7 บรรจุที่ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน


 

ประวัติ หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
 


 

“พระครูอดุลพิริยานุวัตร” หรือ “หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ” อดีตเจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

พระเกจิสืบสายวิชาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ด้วยการร่ำเรียนวิชาจากอาจารย์รื่น นิลแนบแก้ว ทำให้ได้สืบทอดวิชาการสักยันต์ เด่นรอบด้านรวมทั้งวิทยาคม การทำตะกรุดและเครื่องราง

อีกทั้งยังสืบทอดวิชาสายหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จากพระมหาสิทธิการ (ทอง) วัดเพชรสมุทร จ.สมุทรสงคราม ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเพชรสมุทร (วัดบ้านแหลม)

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอไทรโยคด้วย

ทั้งนี้ อาจารย์รื่น เป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเกจิ อาจารย์ชื่อดังของเมืองไทย และอาจารย์รื่นยังเป็นพระสหายกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2491 ที่วัดคู้สนามจันทร์ ต.บ้านปรก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม มีหลวงพ่อกลึง ธัมมโชติ วัดสวนแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเจียม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการปิ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จำพรรษาอยู่วัดคู้สนามจันทร์ 4 พรรษา จากนั้นย้ายไปจำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเพชรสมุทร และยังศึกษาสรรพวิชาเพิ่มเติมจากพระมหาสิทธิการ (ทอง) วัดเพชรสมุทร ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

เริ่มออกท่องธุดงค์ไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น นครศรีธรรมราช ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี

พ.ศ.2505 เดินธุดงค์มาที่ จ.กาญจนบุรี และได้เดินทางจนมาถึงถ้ำละว้า มีญาติโยมนิมนต์ให้มาพักที่บ้านวังกระแจะ และสร้างกุฏิให้อยู่เป็นไม้ไผ่มุงแฝก 1 หลัง จากนั้นได้สร้างกุฏิไม้แบบถาวรให้ 1 หลัง

เพื่อหาปัจจัยมาสร้างวัดวังกระแจะตามที่ชาวบ้านศรัทธา และขอให้สร้างวัดให้เป็นวัดประจำหมู่บ้าน
ด้วยถือสัจจะเป็นใหญ่ เมื่อรับปากชาวบ้านว่าจะสร้างวัดให้ ก็ดำเนินการจนสำเร็จ

พ.ศ.2511 ตั้งเป็นวัดอย่างเป็นทางการ พ.ศ.2514 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2533 ทำพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ

ได้รับตำแหน่งหน้าที่ปกครอง พ.ศ.2513 เป็นเจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี พ.ศ.2517 เป็นเจ้าคณะตำบลท่าทุ่งนา และต่อมาได้ย้ายมาเป็นเจ้าคณะตำบลวังกระแจะ
พ.ศ.2522 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2526 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอไทรโยค

พ.ศ.2549 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอไทรโยค

งานด้านการศึกษา พ.ศ.2498 ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ.2499 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนบาลี พ.ศ. 2513 เป็นเจ้าสำนักเรียนประจำสำนักเรียนวัดวังกระแจะ

งานสาธารณูปโภค ที่ช่วยสงเคราะห์ พ.ศ.2516 สร้างอุโบสถ พ.ศ.2519 สร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน หอสวดมนต์ ห้องนํ้า พ.ศ.2534 สร้างเมรุ ศาลาฌาปนสถาน และห้องน้ำใหม่ พ.ศ.2547 สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่

งานเผยแผ่พุทธศาสนา พ.ศ.2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (อินเดีย)

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2519 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูอดุลพิริยานุวัตร

กล่าวได้ว่า เป็นพระเกจิผู้มีบารมี มุ่งมั่นสืบทอด และจรรโลงบวรพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร มีอาการอาพาธ เข้ารักษาตัวที่ร.พ. ในจังหวัด ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โดยเข้ารักษาตัวนานกว่า 2 เดือน

กระทั่งเวลา 20.40 น. วันที่ 20 เม.ย.2565 ละสังขารด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

สิริอายุ 96 ปี พรรษา 74

เกิดวันศุกร์ที่ 25 มี.ค.2469 ตรงกับแรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 5 คน

ในช่วงวัยเยาว์ มีความสามารถด้านศิลปะวาดเขียนมากกว่าเด็กอื่นๆ ในวัยเดียวกัน ในช่วงวัยรุ่นฝากตัวเป็นศิษย์และได้รับการถ่ายทอดวิชาการสักยันต์และวิทยาคมต่างๆ จากอาจารย์รื่น นิลแนบแก้ว เมื่อครั้งที่อาจารย์รื่นเปิดสำนักสักยันต์ที่ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม


ประวัติ หลวงพ่อถม ธัมมทีโป อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า จ.ลพบุรี

 


 
“พระครูโสภณธรรมรัต” หรือ “หลวงพ่อถม ธัมมทีโป” อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี พระเถระนักพัฒนาที่ชาวเมืองลพบุรีต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธา

มีนามเดิมว่า ถม สงวนวงษ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด เวลาประมาณ 04.00 น. ที่บ้านโพธิ์ผีไห้ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี บิดาเป็นกำนันชื่อ นายลอย สงวนวงษ์ และมารดาชื่อ เนย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

เริ่มการศึกษาครั้งแรกกับโยมบิดาตั้งแต่อายุได้ 5 ปี ต่อมาในพ.ศ.2462 บิดาได้นำตัวมาฝากไว้กับอาชื่อ สามเณรแถม ที่วัดเชิงท่า ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี

เรียนหนังสือแบบเรียนเร็ว หนังสือมูลบทบรรพกิจ รวมทั้งหัดอ่านตัวขอมจากหนังสือพระมาลัย

จนถึงพ.ศ.2464 บิดานำตัวไปฝากเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ในครั้งนั้นอยู่ที่บ้านวิชาเยนทร์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

พ.ศ.2465 ย้ายไปอยู่กับพระครูธรรมรักขิต ผู้เป็นอา ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ได้ศึกษาที่โรงเรียนของวัดสุทัศน์จนจบชั้นประถมศึกษา และจบประถมช่างไม้ จากนั้นเรียนภาษาบาลีเพิ่มเติม พออายุ 15 ปี ตรงกับพ.ศ.2470 กลับบ้านมาช่วยครอบครัวทำนา

จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดโคกหม้อ ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2475 โดยมีพระครูโวทานสมณคุต ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามฯ เจ้าอาวาสวัดเชิงท่าและเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการบุญ เจ้าอาวาสโคกหม้อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ฉาย วัดเชิงท่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พ.ศ.2479 ย้ายมาอยู่วัดเชิงท่า เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยความมุ่งมั่น พ.ศ.2481 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2482 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า พ.ศ.2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า

พ.ศ.2505 เป็นเจ้าคณะตำบลพรหมมาสตร์และตำบลบางขันหมาก จ.ลพบุรี พ.ศ.2508 เป็นพระธรรมทูตของกองอำนวยการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลลพบุรี

พ.ศ.2516 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2519 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี

พ.ศ.2543 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรี

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2493 เป็นพระครูใบฎีกา ตำแหน่งฐานานุกรมของพระกิตติญาณมุนี (พระพุทธวรญาณ)

พ.ศ.2513 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามที่พระครูโสภณธรรมรัต พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พระครูโสภณธรรมรัตมีบทบาทในการทำนุส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ณ สำนักวัดเชิงท่า ตั้งแต่พ.ศ.2482 จนถึงพ.ศ.2535 ได้นิพนธ์งานส่งเสริมศีลธรรมอันดีตามหลักพระพุทธศาสนาให้กับปวงชน และพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ

มีหน้าที่บริหารคณะสงฆ์อำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งได้อบรมพระภิกษุสามเณรร่วมกับเจ้าคณะอำเภอเมืองลพบุรีเป็นประจำ

จัดสร้างพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ เพื่อรวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุอันมีค่า ในการศึกษามรดกวัฒนธรรมไทยให้ได้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ

เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2545 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรวบรวมสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์อย่างยิ่งในศิลปวัฒนธรรม

ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็น “ปูชนียบุคคล” ของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพราะท่านมีความเป็นอยู่ด้วยความสงบ ตามสมณวิสัย ซึ่งหาได้อย่างยากยิ่งในปัจจุบัน

ย้ายมาอยู่วัดเชิงท่าตั้งแต่ พ.ศ.2479 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปีพ.ศ.2504 นั่นหมายถึงว่า ชั่วชีวิตได้ทุ่มเททำงานปฏิบัติงานทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนามากมายนานัปการ และได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดเชิงท่ามาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วไป

วันที่ 14 ก.พ.2552 ล้มป่วยอาพาธด้วยโรคชราและโรคไต คณะศิษยานุศิษย์นำส่งโรงพยาบาลเมืองนารายณ์ ให้แพทย์วินิจฉัยรักษา จนถึงวันที่ 9 มี.ค.2552 ได้ย้ายมารักษาต่อที่โรงพยาบาลลพบุรี

กระทั่งเมื่อเวลา 15.07 น. วันที่ 15 มี.ค.2552 มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุ 96 ปี พรรษา 77


ประวัติ หลวงพ่อพิธ พระเกจิชื่อดังแห่ง วัดฆะมัง จ.พิจิตร

 


 

 

“หลวงพ่อพิธ” พระเกจิชื่อดังแห่งวัดฆะมัง ต.ฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วิทยาคมเข้มขลัง

เป็นศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

มีนามเดิม พิธ ขมินทกูล เกิดเมื่อวันที่ 14 มี.ค.2418 ตรงกับวันอังคาร แรม 5 คํ่า เดือน 4 ปีกุน ที่บ้านบางเพียร หมู่ที่ 4 ต.ฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร เป็นบุตรของขุนหิรัญสมบัติ (ประดิษฐ์ ขมินทกูล) มารดา ชื่อนางปุย

อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2440 ที่พัทธสีมาวัดบึงตะโกน อ.เมือง จ.พิจิตร โดยมีพระครูธรรมทัสสีมุนีวงค์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาวิจิตร วัดฆะมัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พลอย วัดราชช้างขวัญ เป็นอนุสาวนาจารย์

จากนั้นไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ เพื่อศึกษาหาความรู้ด้านพระปริยัติธรรม เพื่อนำความรู้ที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า

อาทิ วัดบางมูลนาก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร, วัดท่าถนน ซึ่งเป็นวัดอยู่ในตลาดอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ วัดหัวดง อ.เมือง จ.พิจิตร โดยเฉพาะวัดหัวดง จำพรรษาอยู่นานที่สุด

อีกทั้งยังมีวัดวังปราบ จังหวัดนครสวรรค์ ฝึกวิชารักษาฝีในท้องกับพระอาจารย์สิน

ที่วัดบางคลาน อ.โพทะเล เพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงิน และได้เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตลอดจนความรู้ต่างๆ จนเป็นที่แตกฉาน จึงได้มาจำพรรษาที่วัดฆะมัง บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน

นอกจากจะได้ศึกษาเล่าเรียนจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ แล้วยังได้เล่าเรียนวิชาความรู้จากปู่อีกด้วย นับว่าเป็นผู้เสาะแสงหาความรู้อย่างแท้จริง

เป็นพระที่มักน้อย ถือสันโดษ และไม่ยอมสะสมเงินทองจึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างถาวรวัตถุเพื่อบำรุงพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป จึงได้สร้างอุโบสถถึง 5 หลัง คือ วัดฆะมัง, วัดดงป่าคำใต้ (วัดใหม่คำวัน), วัดบึงตะโกน, วัดสามขา และวัดหัวดง

ด้วยความที่เป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการรับฟังธรรมและขอวัตถุมงคลไว้เป็นที่ระลึกถึง อาทิ ภาพถ่ายเล็กๆ ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นภาพหลวงพ่อเงิน (พระอาจารย์ของหลวงพ่อพิธ), ตะกรุดมหารูด, ขี้ผึ้งวิเศษ

อย่างไรก็ตาม เมื่อไปนมัสการและขอสิ่งที่เป็นที่ระลึก ก็จะเตือนเสมอว่า “สิ่งที่มอบให้นี้ เป็นประหนึ่งว่าเราได้มาพบหน้าตากัน มีความเคารพต่อกันดุจญาติพี่น้องและสิ่งเหล่านี้ขอให้เข้าใจว่าเป็นอนุสรณ์ต่อกันเมื่ออยู่ห่างไกล สิ่งหนึ่งที่ควรใฝ่ใจมากๆ คือ 1.จงอย่าประมาท 2.คุณพระพุทธคุณ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดา คุณมารดา 3.จงมีศีล มีสัตย์ ภัยพิบัติจะมาไม่ถึงเพราะมีอำนาจทิพย์คอยรักษาคุ้มครองอยู่ และ 4.เมื่อใดสิ่งของอันเป็นที่ระลึกแล้วควรมีปัญญาคือ อย่าเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับทุกข์อุปมาดั่ง

ช่วงบั้นปลายชีวิต สังขารเริ่มโรย ตรากตรำต่อการทำงานและหน้าที่พระคณาจารย์ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้เริ่มมีอาการอาพาธหนัก สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง

สุดท้าย มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2488 ที่วัดฆะมัง สิริอายุ 70 ปี

สร้างความเศร้าสลดมาสู่พุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นยิ่งนัก

ภายหลังมรณภาพ บรรดาคณะศิษยานุศิษย์และญาติพี่น้อง ต่างปรึกษาหารือกันว่า ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ประกอบทำคุณงามความดีมากมาย ตลอดจนเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อเงิน จึงตกลงกันว่า ควรสร้างหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงไว้

ทั้งนี้ หลังจากประชุมเพลิงหลวงพ่อพิธ มีสิ่งอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ดวงตาทั้งสองไฟเผาไม่ไหม้ ชาวบ้านจึงเรียกขานท่านว่า “หลวงพ่อพิธตาไฟ”

คณะกรรมการผู้เก็บรักษาดวงตา ซึ่งไม่ไหม้ไฟ เห็นสมควรบรรจุดวงตาของท่านไว้ในรูปเหมือนขนาดเท่าจริง เพื่อเป็นที่สักการะ ที่วัดฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร ตราบจนทุกวันนี้



 
 
 
กำหนดการ งานสวดพระอภิธรรมและพิธีฌาปนกิจ นายสมจิตต์ เทียนจัน (อ.เฒ่า สุพรรณ)

สถานที่ : วัดปากน้ำ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

พิธีฌาปนกิจ : วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568

———


ประวัติ ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม จ.ลำพูน

 




ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี เดิมชื่อ "จำปี" เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นบุตรของพ่อเม่า และแม่จันตา ท่านกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี มารดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ณ วัดบ้านปาง ท่านจึงได้เริ่มเรียนหนังสือ โดยท่านเป็นผู้มีนิสัยขยัน เล่าเรียนอย่างจริงจัง อ่อนโยน ว่านอนสอนง่าย นอบน้อม ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงมักใช้เวลาที่ท่านรับใช้ใกล้ชิดอบรมกล่อมเกลา ถ่ายทอดความรู้ให้ด้วยความเมตตา จนท่านครูบาอภิชัยมีความรู้เป็นลำดับ สามารถอ่านออกเขียนได้ และมีทักษะในการสวดมนต์ได้ดี


นอกจากนี้ในงานก่อสร้าง ท่านก็มิได้นิ่งดูดาย ได้หมั่นสังเกตพิจารณาในการช่างและเข้าไปช่วยทำงานนั้นๆ อย่างตั้งอกตั้งใจ จนมีความรู้ ความชำนาญในการช่าง
เมื่อถึงเวลาอันสมควร ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุได้ 22 ปี ได้รับฉายาว่า "อภิชโย"


ต้องอธิกรณ์


เมื่อถึงพรรษาที่ 13 ท่านถูกกลั่นแกล้ง และถูกจับดำเนินคดีในข้อหาหลบเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร จนต้องถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวเป็นครั้งแรก ในขณะที่ท่านติดคุกท่านได้ริเริ่มสร้างโรงพยาบาลลำพูนจนแล้วเสร็จ เมื่อออกจากคุกแล้ว ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ทำการอุปสมบทให้แก่ท่านเป็นครั้งที่สอง เมื่อบวชแล้วท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ไปบูรณะวัดวาอารามต่าง ๆ ต่อมาท่านได้ถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์ จนถูกจับสึกนุ่งผ้าขาวอีกเป็นครั้งที่สอง


ช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ


เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ท่านได้พาชาวกะเหรี่ยง 500 คน ไปช่วยทำถนนจนแล้วเสร็จ และได้กลับมาพำนักกับครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดพระสิงห์ ต่อมาได้มีผู้ขอร้องให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยทำการอุปสมบทให้แก่ท่านเพื่อเป็นภิกษุอีกครั้งหนึ่ง ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงยินยอมอุปสมบทให้ ณ วัดศรีโสดา ซึ่งในการอุปสมบทครั้งนี้เป็นเหตุให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์อีกครั้ง ครูบาเจ้าอภิชัยจึงต้องสึกนุ่งผ้าขาวอีกครั้ง และได้กลับไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ ถึงแม้ครูบาเจ้าอภิชัยจะนุ่งผ้าขาว แต่ท่านก็มีวัตรปฏิบัติและถือศีลเหมือนพระภิกษุทุกประการ วัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของท่านทำให้มีศรัทธาสาธุชนเลื่อมใส เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพแล้ว ท่านจึงเปรียบเสมือนทายาทธรรมที่มีผู้มาขอความเมตตาไปเป็นประธานในการบูรณะวัดวาอารามต่าง ๆ


ต่อมาครูบาเจ้าอภิชัยได้ไปบูรณะวัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่นมาโดยตลอด ขณะเดียวกันท่านก็ได้เป็นประธานในการบูรณะวัดวาอารามสร้างโรงเรียน และโรงพยาบาล อีกหลายแห่ง อาทิเช่น โรงเรียนบ้านสามหลัง(อภิชัยบูรณะ) อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
มรณภาพ


ในปี พ.ศ. 2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งแฮ่ม จังหวัดลำปาง ได้มานิมนต์ท่านไปนั่งเป็นประธานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ต่อมาคณะศรัทธาวัดต้นธงชัย จังหวัดสุโขทัย มานิมนต์ท่านเพื่อขอความเมตตาไปเป็นประธานในการสร้างพระวิหาร ท่านเดินทางไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2520 และเมื่อไปถึงวัดท่าต้นธงชัยได้เพียงวันเดียว ท่านก็ได้มรณภาพในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520 โดยอาการสงบ



ประวัติ หลวงปู่เปรื่อง ฐานังกโร อดีตเจ้าอาวาสวัดสันติวัฒนา จ.เพชรบูรณ์


 


 

“หลวงปู่เปรื่อง ฐานังกโร” หรือ “พระวินัยวงศาจารย์” อดีตเจ้าอาวาสวัดสันติวัฒนา ต.สักหลง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหล่มสัก-เขาค้อ (ธรรมยุต) พระเถระนักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ที่คนทั่วไปต่างเลื่อมใสศรัทธา เกิดในสกุลรูปน้อย เมื่อวันพุธที่ 30 มี.ค.2474 ที่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 2 ต.สักหลง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ บิดา-มารดาชื่อ นายเรือง และ นางน้อย รูปน้อย

ในช่วงวัยเยาว์ศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองบัว จ.เพชรบูรณ์ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ช่วยครอบครัวทำไร่ ทำนา และทำสวน

ย่างเข้าวัยหนุ่มฉกรรจ์มีจิตใจฝักใฝ่และศรัทธาหลักธรรมคำสอน ประกอบกับที่ครอบครัวได้เข้าวัดฟังธรรมและรักษาศีลเป็นประจำ จึงได้ขออนุญาตบุพการีบวช


ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดศรีบุญเรือง อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2495 โดยมี พระครูสุธรรมคณี วัดสามัคคีวัฒนา ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
อยู่ทำวัตรปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม จนกระทั่งสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก จึงได้รับหน้าที่ให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรภายในวัด และทำหน้าที่เป็นผู้สวดปาติโมกข์ ทุกปักขคณนาตลอดทั้งปี


พ.ศ.2510 เมื่อญาติโยม อุบาสก และอุบาสิกา ร่วมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดสันติวัฒนา ที่บ้านสักหลง ชาวบ้านได้นิมนต์ให้มาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
พ.ศ.2514 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธรรมยุต) พ.ศ.2518 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าคณะอำเภอหล่มเก่า-อำเภอน้ำหนาว (ธรรมยุต) จ.เพชรบูรณ์
พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอหล่มสัก และอำเภอเขาค้อ (ธรรมยุต) จ.เพชรบูรณ์
พ.ศ.2554 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหล่มสัก-เขาค้อ (ธรรมยุต)


เนื่องจากเป็นพระที่มีความรอบรู้ในเรื่องนวกรรม จึงชักชวนชาวตำบลสักหลงก่อสร้างศาลาการเปรียญ อุโบสถ กุฏิกัมมัฏฐาน ปรับภูมิทัศน์ภายในวัดให้มีความร่มรื่นด้วยการปลูกต้นไม้และนำพันธุ์ไม้หายากมาปลูก ทำให้ภายในวัดมีความร่มรื่นเย็นสบาย จนได้รับเกียรติคุณจากกรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างติดต่อกันหลายปี


เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาบวชได้ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม จะกำหนดให้พระภิกษุ-สามเณรต้องลงอุโบสถ ทำวัตรเช้า-เย็น ทุกวัน และฟังพระสวดปาติโมกข์ตลอดทั้งปี


นอกจากนี้ ยังอบรมให้พระภิกษุ-สามเณรยึดมั่นปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามกฎหมายคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ฝึกปฏิบัติตามหลักธุดงควัตร ยึดหลักสันโดษ มักน้อยในปัจจัย 4 ไม่ยึดติดในอติเรกลาภ จึงทำให้พระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษาวัดแห่งนี้ไม่เคยมีอธิกรณ์ใดๆ ให้เกิดความเสื่อมเสีย

ส่งเสริมให้พระภิกษุ-สามเณรภายในวัดได้รับการศึกษาด้านพระปริยัติธรรม แต่ละปีจึงมีพระภิกษุ-สามเณรสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี โท และเอก ปีละหลายรูป

รวมทั้งยังจัดส่งพระภิกษุ-สามเณรในวัดไปศึกษาด้านกัมมัฏฐานที่สำนักวัดป่าต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

พ.ศ.2549 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวินัยวงศาจารย์

เป็นพระสายปฏิบัติที่เคร่งครัด ได้ให้การศึกษาอบรมญาติโยมและประชาชนทั่วไปด้วยการเน้นเรื่องของการปฏิบัติตน การฝึกทำสมาธิ เพื่อสร้างฐานทางสติให้มีความมั่นคง ไม่วอกแวก และมีสติ

ภายในวัดจึงมีกุฏิกัมมัฏฐานไว้เพื่อให้ผู้ที่ชอบความสงบเข้ามาปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ และปฏิบัติกัมมัฏฐาน ได้ทุกวัน แต่ละวันจึงมีญาติโยมที่เลื่อมใสเดินทางมาเคารพกราบไหว้ พร้อมกับทำนุบำรุงศาสนสถานและถาวรวัตถุอย่างพร้อมสรรพ

อย่างไรก็ตาม สังขารร่วงโรยไปตามกาลเวลา อายุเข้าสู่วัยไม้ใกล้ฝั่งหลวงปู่มีอาการอาพาธ ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ญาติโยมนำไปรักษาที่โรงพยาบาลหลายครั้ง

เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพชรบูรณ์เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2562 อาการมีแต่ทรงกับทรุด กระทั่งละสังขารอย่างสงบที่ห้องไอซียูโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ สิริอายุ 88 ปี พรรษา 68

ประวัติ หลวงพ่อห้อง พุทธรักขิโต วัดช่องลม จ.ราชบุรี

 


 


หลวงพ่อห้อง พุทธรักขิโต หรือ พระครูอินทเขมาจารย์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี พระเกจิผู้ปรากฏเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังมาแต่ครั้งอดีต วัตถุมงคลล้วนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเหรียญหล่อโบราณ

เกิดที่บ้านหน้าเมือง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2388

ครั้นเมื่ออายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี

อายุ 36 ปี พรรษา 15 ในปี พ.ศ.2424 พระครูอินทเขมาจารย์ (เรือง) เห็นถึงความอุตสาหวิริยะหมั่นเพียร และเอาใจใส่ในธุระของการศาสนา จึงได้แต่งตั้งให้เป็นพระปลัด

ต่อมาในปี พ.ศ.2432 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูอินทเขมาจารย์ ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2455 ก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี

เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีจริยวัตรที่น่าเลื่อมใส ท่านได้ช่วยระงับอธิกรณ์น้อยใหญ่ และบริหารคณะสงฆ์ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ ท่านยังได้บำรุงพระพุทธศาสนาโดยการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดช่องลมให้เจริญรุ่งเรืองมาจน ทุกวันนี้

วัดช่องลม ตั้งอยู่บนถนนไกรเพชร ต.บ้านเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี แต่เดิมวัดชื่อ ช้างล้ม ในอดีตบริเวณวัดเป็นป่าไผ่ มีโขลงช้างมาอาศัยหากินอยู่บริเวณนั้น เมื่อช้างเกิดป่วย เจ็บ และล้มตาย ก็จะตายบริเวณนั้น จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในบริเวณนั้นขนานนามว่า วัดช้างล้ม

ต่อมา พ.ศ.2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลราชบุรี ได้ประทับ ณ วัดนี้ด้วยเหตุวัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง เป็นเหตุให้บริเวณในวัดมีอากาศร่มรื่นเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาแน่นมาก บริเวณวัดสะอาด และมีลมพัดเย็นตลอดเวลา

สมเด็จฯ ตรัสขึ้นด้วยความสบายใจว่า “วัดนี้อากาศเย็นสบายเหมือนวัดช่องลม มีลมพัดผ่านตลอดเวลาทุกฤดูกาล”

ประวัติ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

 




“พระราชสังวรญาณ” หรือ “หลวงพ่อพุธ ฐานิโย” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา พระวิปัสสนาจารย์อีกท่านหนึ่งแห่งดินแดนอีสาน และเป็นลูกศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

มีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา เกิดเมื่อวันพุธที่ 8 ก.พ.2464 ที่หมู่บ้านชนบท ต.หนองหญ้าเซ้ง อ.หนองโดน จ.สระบุรี บิดา-มารดามีอาชีพทำไร่ทำนาและค้าขาย

อายุ 4 ขวบ บิดา-มารดาถึงแก่กรรม ญาติที่อยู่ที่หมู่บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร จึงมารับไปอุปการะ

อายุ 8 ขวบ เข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลวัดไทรทอง ต.ตาลเนิ้ง เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 6

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2479 ขณะอายุ 15 ปี ขอร้องให้ญาติซึ่งเป็นผู้ปกครองพาไปบรรพชาที่วัดอินทร์สุวรรณ บ้านโคกพุทรา ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร มีพระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ เป็นพระบรรพชาจารย์

อาศัยอยู่กับพระครูโพธิภูมิไพโรจน์ ศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม และในพรรษาแรก สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเริ่มรับการฝึกอบรมด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจากพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก

ต่อมาในปี พ.ศ.2483 พระอาจารย์เสาร์พาไปฝากตัวเป็นศิษย์พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปัญโญ) ที่วัดปทุมวนาราม (วัดสระปทุม) กรุงเทพฯ ให้ช่วยอบรมสั่งสอนจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสามารถสอบได้เปรียญ 4 ประโยค

อยู่ที่วัดปทุมวนารามจนอายุครบบวช ในปี พ.ศ.2485 จึงได้รับการอุปสมบท มีพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า ฐานิโย

ในปี พ.ศ.2487 สมัยสงครามเอเชียบูรพา อพยพกลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี และได้อยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้จนถึงปี พ.ศ.2489 ในระหว่างนั้นท่านได้เกิดอาพาธหนัก เป็นวัณโรค

ต่อมาได้พบกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และช่วยรักษาโดยการสอนให้เพ่งอาการ 32 โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยังคอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา

พ.ศ.2490 จำพรรษาที่วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น แต่อาการป่วยด้วยโรควัณโรคยังไม่หายขาด

พ.ศ.2491 กลับมาจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี และในปี พ.ศ.2495 ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2496 เป็นเจ้าอาวาส วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี พ.ศ.2500 เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ พ.ศ.2511 เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ.2513 เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2500 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูพุทธิสารสุนทร

พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชินวงศาจารย์

วันที่ 12 ส.ค.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวรญาณ

ในห้วงที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ปฏิบัติกิจของสงฆ์ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายธรรม สร้างคุณประโยชน์ต่อศาสนามากมาย และสร้างโรงเรียนราชอุปถัมภ์ สร้างอาคารให้เด็กนักเรียน มอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงาน ราชการต่างๆ

นอกจากนี้ยังช่วยจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเสมอๆ อีกทั้งยังมอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งมอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงพยาบาลต่างๆ อีกด้วย

ในปี พ.ศ.2527 รับเป็นองค์อุปถัมภ์ มูลนิธิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับเป็นประธานและวิทยากรในการอบรมสมาธิครูและนักเรียนของเขตการศึกษาที่ 11 อันได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2542 สิริอายุ 78 ปี พรรษา 57


ชินราช เนื้อผงน้ำมัน หลังเรียบ มีการเล่นหาเป็น หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.อยุธยา


นักขายพระ นักยัด นักแต่งนิทาน ขายเป็นพระ หลวงพ่อกวย เอ๊ะอะอะไรก็พระหลวงพ่อกวยไว้ก่อน อ้างตนเป็นกูรู พระเครื่องสายหลวงพ่อกวย แต่ขายพระแต่ละอย่าง ไม่เคยบ่งชี้ถึงหลักฐานที่เป็นรูปธรรม ใช้วิธีพ่นน้ำลายอย่างเดียว

นักสะสม เรียนรู้เรื่องพระโรงงานในอีดตไว้หนอยก็ดี จะไม่ได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ น้ำลายของใคร
 


 
 
 









 

 

สมัครสมาชิก: บทความ ( Atom )

ค้นหาบล็อกนี้

หน้าเว็บ

  • หน้าแรก
  • กล้องส่องพระ
  • ความรู้พระเครื่อง
  • ประวัติพระเกจิอาจารย์
  • ข่าวพระเครื่อง
  • ข่าวพระพุทธศาสนา
  • คาถา-บทสวดมนต์
  • เที่ยววัด

Categories

  • กล้องส่องพระ (9)
  • เกร็ดความรู้พระเครื่อง (127)
  • ข่าวทั่วไป-สาระน่ารู้ (30)
  • ข่าวพระเครื่อง (171)
  • ข่าวพระพุทธศาสนา (169)
  • ข่าวหวย เลขเด็ด (5)
  • คาถา-บทสวดมนต์ (26)
  • เที่ยววัด ไหว้พระ ทำบุญ (7)
  • ธรรมะ - ฟังเทศน์ (363)
  • ประวัติพระเกจิอาจารย์ดัง-ประวัติพระอริยสงฆ์ (269)
  • พระเก๊-พระปลอม (41)
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ (6)
  • เรื่องเล่า ประสบการณ์พระเครื่อง (31)
  • เรื่องเล่า อิทธิฤทธิ์ ครูบาอาจารย์ (25)
  • วัดโฆสิตาราม (1)
  • หนังสือพระเครื่อง (14)
  • หยิบพระมาส่อง (42)
  • หลวงปู่อินสม สุวีโร (14)
  • หลวงพ่อกวย (1)
  • อุปกรณ์คู่กาย นักสะสมพระเครื่อง (21)

ABOUT AUTHOR

LATEST POSTS

  • ประวัติ หลวงปู่เล็ก อินทสะระ (หลวงพ่อวัดบ้านหนอง) วัดบ้านหนอง จ.ชัยนาท
      ประวัติ หลวงปู่เล็ก อินทสะระ วัดบ้านหนอง จ.ชัยนาท หลวงพ่อวัดบ้านหนอง หรือหลวงปู่เล็ก วัดบ้านหนอง ท่านเกิดปี มะแม 25  พ.ค. 2437 ท่านบวชเมื่...
  • ศิษยานุศิษย์ศร้า หลวงพ่อกำจัด สังวรคุณ วัดป่าสัก จ.ชัยนาท ละสังขารแล้ว
        เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 21:26 นาที หลวงพ่อกำจัด (พระครูสุจิตต สังวรคุณ) อดีตเจ้าคณะอำเภอจังหวัดชัยนาท (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสว...
  • คาถา มหาลาภ หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา
      คาถา มหาลาภ หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา (ตั้งนะโม 3 จบ) สัมพุทธชิตา จะสัจจานิ เกรัตน์สะ พระพุทธชิตา สัพพะโส คุณะวิภา สัม...

Tags

กล้องส่องพระ เกร็ดความรู้พระเครื่อง ข่าวทั่วไป-สาระน่ารู้ ข่าวพระเครื่อง ข่าวพระพุทธศาสนา ข่าวหวย เลขเด็ด คาถา-บทสวดมนต์ เที่ยววัด ไหว้พระ ทำบุญ ธรรมะ - ฟังเทศน์ ประวัติพระเกจิอาจารย์ดัง-ประวัติพระอริยสงฆ์ พระเก๊-พระปลอม พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เรื่องเล่า ประสบการณ์พระเครื่อง เรื่องเล่า อิทธิฤทธิ์ ครูบาอาจารย์ วัดโฆสิตาราม หนังสือพระเครื่อง หยิบพระมาส่อง หลวงปู่อินสม สุวีโร หลวงพ่อกวย อุปกรณ์คู่กาย นักสะสมพระเครื่อง

Popular Posts

  • รุ่นแรงศรัทธา ทางวัดโฆสิตาราม (หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร) ไม่ได้อนุญาตให้สร้าง
    วันที่ 23 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2564 วัดโฆสิตาราม ประกาศผ่านเพจอย่างเป็นทางการ มีข้อความดังต่อไปนี้ ประกาศแจ้งจากวัดโฆสิตาราม ( หลวงพ่อกวย ชุติน...
  • จุดเริ่มต้น ศรัทธาบารมี เป็นศิษย์ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม
    จุดเริ่มต้น ศรัทธาบารมี เลื่อมใส และถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
  • รูปถ่ายหลวงพ่อกวย ปี58 วัดโฆสิตาราม ของเก๊พยายามดันให้เป็นแท้
    รูปถ่ายหลวงพ่อกวยปี58 วัดโฆสิตาราม ชัยนาท งานเก๊ตัวนี้ ขยันโชว์ในกลุ่มกันจังเลย เอามาเทียบให้เห็นชัดๆ ต่างกันมาก จะดันงานเก๊ให้เป็นของแท้ก...

Instagram

ลิงค์เพื่อนบ้าน

  • ครูบาบุญชุ่ม
  • ธรรมะ
  • ครูบาน้อย
  • พระปิดตา
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Follow Us

FACEBOOK LIKE
TWITTER FOLLOW
INSTAGRAM FOLLOW
YOUTUBE SUBCRIBE

Recent Posts

recentposts

Contact form

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Most Popular

  • ประวัติ หลวงปู่เล็ก อินทสะระ (หลวงพ่อวัดบ้านหนอง) วัดบ้านหนอง จ.ชัยนาท
      ประวัติ หลวงปู่เล็ก อินทสะระ วัดบ้านหนอง จ.ชัยนาท หลวงพ่อวัดบ้านหนอง หรือหลวงปู่เล็ก วัดบ้านหนอง ท่านเกิดปี มะแม 25  พ.ค. 2437 ท่านบวชเมื่...
  • ศิษยานุศิษย์ศร้า หลวงพ่อกำจัด สังวรคุณ วัดป่าสัก จ.ชัยนาท ละสังขารแล้ว
        เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 21:26 นาที หลวงพ่อกำจัด (พระครูสุจิตต สังวรคุณ) อดีตเจ้าคณะอำเภอจังหวัดชัยนาท (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสว...
  • คาถา มหาลาภ หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา
      คาถา มหาลาภ หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา (ตั้งนะโม 3 จบ) สัมพุทธชิตา จะสัจจานิ เกรัตน์สะ พระพุทธชิตา สัพพะโส คุณะวิภา สัม...
  • สิ่งที่ติดตัวมาข้ามภพชาติ คือบุญและบาป - คติธรรม พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
        เรื่อง “สิ่งที่ติดตัวมาข้ามภพชาติ คือบุญและบาป” “เคยทำอะไรมา มันจะติดมากับใจผู้รู้ผู้คิดนี้” (คติธรรม พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) (ธร...

Ads

ผู้ติดตาม

Mobile Logo

Mobile Logo
image

Recent Posts

recentposts

Random Posts

3/random/post-list

Latest Posts

  • รุ่นแรงศรัทธา ทางวัดโฆสิตาราม (หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร) ไม่ได้อนุญาตให้สร้าง
    วันที่ 23 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2564 วัดโฆสิตาราม ประกาศผ่านเพจอย่างเป็นทางการ มีข้อความดังต่อไปนี้ ประกาศแจ้งจากวัดโฆสิตาราม ( หลวงพ่อกวย ชุติน...
  • จุดเริ่มต้น ศรัทธาบารมี เป็นศิษย์ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม
    จุดเริ่มต้น ศรัทธาบารมี เลื่อมใส และถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท

Blogroll

Flickr

About

Copyright 2014 Songphra Channel - ส่องพระ ชาแนล.
Designed by OddThemes