การปล่อยวางที่แท้จริงนั้น ไม่ได้เป็นผลของการบังคับด้วยอำนาจของสมาธิ - พุทธทาสภิกขุ

การปล่อยวางที่แท้จริงนั้น ไม่ได้เป็นผลของการบังคับด้วยอำนาจของสมาธิ ต้องเป็นผลของการ “รู้แจ้ง” ด้วยอำนาจของ“ปัญญา”



“อุปสรรคที่ทำให้เราปล่อยวางไม่ได้ ได้แก่ ความยึดถือ ในกาม ในทิฏฐิ ในสีลัพพตปรามาส และในตัวตน เราจะต้องทำความรู้ความเข้าใจ ในของ 4 อย่างนี้ ซึ่งเรียกโดยสมมุติว่า เป็นสมบัติที่ “ปุถุชน” อุตส่าห์หอบหิ้วมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ด้วยความยึดถือที่เรียกว่า “อุปาทาน”
เมื่อได้ศึกษาทราบ เรื่องกาม เรื่องทิฏฐิ เรื่องศีลพรต และตัวตน อย่างถูกต้องและเพียงพอแล้ว ย่อมเกิดความปล่อยวางในสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาได้ ด้วยอำนาจของ “ปัญญา” เพราะว่าเราไม่อาจจะปล่อยวางได้ด้วยอำนาจของการบังคับ แม้ด้วยอำนาจของ“สมาธิ” ก็ไม่สามารถจะทำให้เกิดการปล่อยวางได้ ได้แต่เพียงบังคับ

การปล่อยวางที่แท้จริงนั้น ไม่ได้เป็นผลของการบังคับ ต้องเป็นผลของการรู้แจ้งในสิ่งเหล่านั้น จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากสิ่งเหล่านั้น ในตัวมันเอง นี่เราเรียกว่า “ความปล่อยวาง”
เมื่อมีการปล่อยวางสิ่งทั้งหลายทั้งปวง โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงแล้ว ผลที่เกิดขึ้นก็คือ การบรรลุ“โลกุตตรธรรม” ตั้งอยู่ใน“โลกุตตรภูมิ”
ก่อนหน้านั้น สัตว์ตั้งอยู่ใน“โลกียภูมิ” และติดแน่นอยู่ด้วย“โลกียธรรม” ครั้นศึกษาทราบลักษณะอันแท้จริง จนปล่อยวางโลกียธรรมทั้งหลายได้ ก็พ้นจากโลกียภูมิ มาสู่โลกุตตรภูมิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลุถึงโลกุตตรธรรม”


ธรรมบรรยาย เรื่อง “ผลของการถอนความยึดมั่นถือมั่น”
อบรมผู้พิพากษา ปี 2501 ครั้งที่ 10

พุทธทาสภิกขุ

Share this:

ABOUT THE AUTHOR

Hello We are OddThemes, Our name came from the fact that we are UNIQUE. We specialize in designing premium looking fully customizable highly responsive blogger templates. We at OddThemes do carry a philosophy that: Nothing Is Impossible

0 comments:

แสดงความคิดเห็น