ประวัติ หลวงพ่อพริ้ง วชิรสุวัณโณ วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี

 

ประวัติ หลวงพ่อพริ้ง วชิรสุวัณโณ วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี


“พระครูธรรมสารรักษา” หรือ “หลวงพ่อพริ้ง วชิรสุวัณโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัด วรจันทร์ ต.โพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี และรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองสุพรรณ มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ

นามเดิมชื่อ พริ้ง เกิดปีเถาะ ตรงกับพุทธศักราช 2409 บ้านอยู่ทางใต้ประตูน้ำวัดพร้าวฝั่งตะวันตก ต.โพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี บิดา-มารดาชื่อนายเตียบและนางเรียน มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกันเป็นผู้ชายทั้งหมดจำนวน 5 คน

เมื่ออายุ 12 ปี บิดา-มารดานำตัวไปฝากวัดพร้าวในสำนักพระครูปลื้ม ปรากฏว่าเป็นเด็กที่มีสติปัญญาเฉียบแหลม สามารถเรียนหนังสือไทย หนังสือขอม และท่องหนังสือสวดมนต์ได้แม่นยำรวดเร็ว ท่องพระปาฏิโมกข์จบตั้งแต่ตัวท่านยังเด็ก อายุย่างเข้าวัยหนุ่ม ช่วยบิดา-มารดาประกอบอาชีพทำนา มีหลักฐานมั่นคง มีบ่าวรับใช้

ครั้นเมื่อพ.ศ.2431 อายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดพร้าว โดยมีหลวงพ่อแก้ว เป็นอุปัชฌาย์, พระครูปลื้ม เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระครูอินทร์ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาเล่าเรียนกับพระครูอินทร์ วัดพร้าว 1 พรรษา จากนั้นพระครูอินทร์นำไปฝากศึกษาเล่าเรียนที่สำนักเรียนที่วัดมหาธาตุยุว ราชรังสฤษฎิ์ ท่าพระจันทร์ ประมาณ 7 พรรษา แล้วกลับมาอยู่วัดพร้าวตามเดิม พร้อมด้วยความรู้คือ แปลพระปริยัติธรรมได้ สามารถแสดงธรรมได้ด้วยปากเปล่าเป็นอย่างดี แต่มิได้แปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ด้วยในสมัยนั้นนานครั้งจะมีการแปลพระปริยัติธรรมกันครั้งหนึ่ง

เมื่อบวชได้ 10 พรรษา ฝนแล้ง ชาวโพธิ์พระยาขาดแคลนข้าว เดือดร้อนเป็นอันมาก ประจวบกับพระภิกษุที่วัดพร้าวมีมาก ออกบิณฑบาตไม่ใคร่พอฉัน พระภิกษุต่างก็ย้ายที่อยู่กันไป ส่วนหลวงพ่อพริ้งได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองผักนาก อ.สามชุก 1 พรรษา แล้ว กลับมาอยู่ที่วัดพร้าวอีก 5 พรรษา ในตอนนี้นับพรรษาได้ 16 พรรษา

ต่อมา วัดวรจันทร์ขาดเจ้าอาวาส ประชาชนจึงพร้อมใจกันอาราธนาให้มาดำรงตำแหน่ง

สำหรับ วัดวรจันทร์ ตั้งอยู่ที่ ต.โพธิ์พระยา เหนือสุดของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ตั้งมากว่าร้อยปีคือ ก่อนพุทธศักราช 2377 แต่เดิมไม่มีถาวรวัตถุอันใด นอกจากกุฏิไม้ไผ่มุงแฝกอยู่ 2-3 หลัง ตั้งอยู่ที่ต้นมะตูมเหนือสระเก่า

พ.ศ.2476 วัดแห่งนี้แต่เดิมเรียกว่าวัดจันทร์ เปลี่ยนเป็น วัดวรจันทร์ โดยเพิ่มคำว่า “วร” แปลว่า ยอดเยี่ยม ประเสริฐเลิศ ด้วยเหตุที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เผื่อน ติสสทัตโต) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎก และเป็น เจ้าคณะมณฑลราชบุรี

ครั้งนั้นเป็นสมภารอยู่วัดแห่งนี้เห็นว่าชื่อวัดจันทร์ไปพ้องกับ วัดจรรย์ อ.ศรีประจันต์ ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 8-9 กิโลเมตร เป็นเหตุให้มีการส่งหนังสือราชการผิดพลาดกันเนืองๆ ดังนั้น พระ อุบาลีคุณูปมาจารย์จึงให้เปลี่ยนวัดจันทร์เป็นชื่อวัดวรจันทร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดวรจันทร์เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาจนมาถึงทุกวันนี้

หลวงพ่อพริ้งมรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2483 สิริอายุ 73 ปี กล่าวกันว่า มีความคุ้นเคยสนิทกับสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (แพ ติสสเทโว) เป็นอันมาก


เมื่อมรณภาพ สมเด็จพระสังฆราชถึงกับมีรำพึงว่า “เมืองสุพรรณหมดคนดีไปอีกคนหนึ่ง”

Share this:

ABOUT THE AUTHOR

Hello We are OddThemes, Our name came from the fact that we are UNIQUE. We specialize in designing premium looking fully customizable highly responsive blogger templates. We at OddThemes do carry a philosophy that: Nothing Is Impossible

0 comments:

แสดงความคิดเห็น