ประวัติ หลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม กรุงเทพ
ประวัติ หลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล วัดปริวาสราชสงคราม กรุงเทพ
พระครูขันตยา ภิราม” หรือ “หลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล” วัดปริวาสราชสงคราม กรุงเทพฯ พระเกจิชื่อดัง ทรงวิทยาคุณเข้มขลัง โด่งดังในเรื่องการปลุกเสกเครื่องรางเสือ บรรดาลูกศิษย์ ร่ำลือกันว่า “เวลาหลวงพ่อปลุกเสกเสือนั้น ท่านเสกจนเสือกระโดดได้”
เกิดวันเสาร์ที่ 7 มิ.ย.2445 บ้านเลขที่ 193 ต.บางโพงพาง อ.บ้านทวาย กรุงเทพฯ บิดา-มารดา ชื่อ นายเลียบและนางจั่น เจริญกุล
ช่วงวัยเยาว์ บิดาพาไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดปริวาส สอบไล่ได้เทียบชั้นระดับประถมศึกษา 4
เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดปริวาส เมื่อวันพุธที่ 17 มิ.ย.2468 โดยมีพระครูวินยานุบูรณาจารย์ (หลวงพ่อเชย) วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดไม้ วัดปริวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการน้อย วัดด่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า วังสปาโล
เดินทางไปศึกษาที่สำนักเรียนวัดทองธรรมชาติ วัดจักรวรรดิราชาวาส (สามปลื้ม) วัดมหาธาตุ สอบได้นักธรรมชั้นตรี และเรียนภาษาบาลีแบบมูลกัจจายน์ ขอมบาลีและ ขอมไทยจนชำนาญ แต่ไม่ได้เข้าสอบเพิ่ม เนื่องจากพระปลัดไม้ มรณภาพในปี พ.ศ.2471 ทำให้หลวงพ่อวงษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
รับการถ่ายทอดวิชาปรุงยาสมุนไพร รวมทั้งการจับยามสามตาจากพระปลัดไม้ ซึ่งมี ผู้ป่วยและลูกศิษย์มารับการรักษา นอกจากนี้ ยังเรียนรู้วิชาการเล่นแร่แปรธาตุ การต้มปรอท การรักษาโรค การเขียนผงลบผง โดยเฉพาะผงนะปถมัง และผงอิทธิเจ การอาบน้ำมนต์ และการวิปัสสนากัมมัฏฐานจากปู่เนียน สังข์เนตร ฆราวาสแห่งอาศรมบางวัว และศึกษาการวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก ในปี พ.ศ.2478 ซึ่งพระบวชใหม่ในแถบบางโพงพางช่วงนั้น ถ้าจะออกธุดงค์ต้องมาขึ้นกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อพุ่ม ก่อนออกเดินธุดงค์ทุกครั้ง
วัดปริวาสราชสงคราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดังมีหลักฐานยืนยันเป็นแผ่นทองคำจารึกไว้ กล่าวคือ เมื่อครั้งที่หลวงพ่อวงษ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์หน้าอุโบสถ โดยมีพระอาจารย์สมชาย ฉันสโร เป็นผู้ช่วย และจากการในครั้งนี้ได้พบแผ่นทองคำจารึกนามผู้สร้างเจดีย์ ช่วงส่วนบนของ “คอระฆัง” พระเจดีย์จารึกระบุว่า ยายเมืองเป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้เมื่อปี พ.ศ.2421 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แม้จะไม่ใช่วัดหลวง แต่จัดเป็นวัดใหญ่ที่ประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร และพระมหาเจดีย์ เขตแนวกุฏิสงฆ์อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา การจารจรสะดวก ด้วยในสมัยก่อนนั้น มักใช้แม่น้ำลำคลองในการสัญจร แต่ปัจจุบันใช้ถนนพระราม 3 เป็นเส้นหลักในการสัญจร
เจ้าอาวาสที่ปกครองวัด ตามที่มีผู้สืบค้นไว้มีอยู่ 9 รูป ได้แก่ หลวงปู่ม่วง หลวงปู่สุข พระอธิการเฮ้า พระอธิการเปลี่ยน พระอธิการโคก พระปลัดไม้ พระครูขันติยาภิราม (พระอุปัชฌาย์วงษ์) พระครูใบฏีกาเจียม สุขิโต พระครูพิศาลพัฒนพิธาน
เป็นผู้ที่ทำให้วัดปริวาส เป็นที่รู้จักแก่ประชาชน เนื่องจากเสือโลหะที่ได้สร้างไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นพระนักพัฒนาที่เก่งอีกด้วย หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ก็ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ์ใหม่ สร้างศาลาการเปรียญ ศาลาอเนกประสงค์ รวมทั้งเสนาสนะอื่นๆ อีกหลายแห่ง
มีความเคารพเลื่อมใสในหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน จึงสร้างเสือตามแบบฉบับของหลวงพ่อปาน แต่สร้างเป็นเสือเนื้อโลหะครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2501
กระทั่งจัดสร้างเสือรุ่น 6 เมื่อปี พ.ศ.2519 จำนวน 37,400 ตัว ในการสร้างและปลุกเสกเสือนั้น จะนั่งปลุกเสกเสือ จนกระทั่งเสือโลหะนั้นกระโดดได้เหมือนมีชีวิต จึงหยุดปลุกเสก บรรดาศิษย์ที่ศรัทธาในยุคนั้นเห็นปลุกเสกเสือจนเสือกระโดดได้ จึงศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก
“ตอนกูปลุกเสกเสือรุ่น 1 นั้น กูเพิ่งจบชั้นประถม แต่เสือรุ่น 6 นั้น กูจบปริญญาแล้ว พวกมึงว่ารุ่นไหนจะดีกว่ากัน” เป็นคำกล่าวปรารภของหลวงพ่อวงษ์แก่บรรดาคณะศิษย์
มรณภาพเมื่อวันที่ 2 ส.ค.2523 สิริอายุ 78 ปี พรรษา 55
ABOUT THE AUTHOR
Hello We are OddThemes, Our name came from the fact that we are UNIQUE. We specialize in designing premium looking fully customizable highly responsive blogger templates. We at OddThemes do carry a philosophy that: Nothing Is Impossible
0 comments:
แสดงความคิดเห็น