ฟิล์มถ่ายภาพ - ฟิล์มถ่ายรูป และการทำงานของฟิล์ม

ฟิล์มถ่ายภาพ

ฟิล์มถ่ายรูป เป็นวัสดุไวแสงที่ใช้เป็นแกรับภาพในกล้องถ่ายรูป เมื่อแสงตกกระทบบนเยื่อไวแสงที่ฉาบไว้บนฟิล์มก็จะเกิดภาพแฝงขึ้นเรียกว่า "latent image" ซึ่งเป็นภาพที่ตามองไม่เห็นต่อเมื่อนำฟิล์มไปผ่านกระบวนการล้างน้ำยาเคมีแล้ว จึงสามารถมองเห็นภาพได้ วัสดุไวแสงที่บนฟิล์มนี้ คือ เงินเฮไลด์ ( Silver halide) ซึ่งได้มาจากการนำเอาแร่เงินมาละลายผสมกับกรดไนตริกแอซิก เป็นซิลเวอร์ไนเตรด เมื่อส่วนที่ละลายแห้งและเย็นลงแล้ว ก็จะได้ผลึกซิลเวอร์ไนเตรดที่บริสุทธิ์นำไปผสมกับเจลาตินและ โปรแตสเซี่ยมโบรไมด์ ลงไป ก็จะได้ ซิลเวอร์โบรไมด์ อยู่ในเจลาติน นำไปฉาบบนผิวของฐานฟิล์ม (film base) เมื่อนำฟิล์มที่ถ่ายแล้วไปล้างในน้ำยาสร้างภาพครบตามกระบวนการ บริเวณของฟิล์มที่ถูกฉายแสงจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำทึบ ส่วนบริเวณที่ไม่ถูกแสงเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำยาคงสภาพ (Fixer) เงินเฮไลด์จะหลุดออกจากฟิล์มไป ส่วนนั้นจะมีลักษณะโปร่งใส ภาพที่เกิดขึ้นบนฟิล์มจึงมีลักษณะกลับกันกับวัตถุจริง เรียกว่า ภาพเนกาตีฟ (Negative)

ภาพแสดงให้เห็นถึงเมื่อแสงผ่านเลนส์ของกล้องถ่ายรูปและตกกระทบฟิล์มจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นน้ำยาที่เคลือบอยู่บนฟิล์มเกิดเป็นภาพที่บันทึกไว้เรียกว่า Latent Image

การทำงานของฟิล์ม

หลังจากที่ฟิล์มถูกฉายแสง (Exposed to light) ในปริมาณที่พอเหมาะ ภาพของวัตถุจะถูกบันทึกไว้ในเยื่อไวแสงในลักษณะของภาพแฝง (Latent image) ซึ่งเป็นภาพที่ยังมองไม่เห็น จนกว่าจะนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เมื่อนำฟิล์มที่ผ่านน้ำยาสร้างภาพ(Developer) เฉพาะบริเวณฟิล์มที่ถูกแสงจะเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาพของเงินสีดำ ส่วนบริเวณฟิล์มที่ไม่ถูกแสงยังคงมีเงินเฮไลต์ ซึ่งยังคงไวต่อแสงอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในน้ำยาสร้างภาพ ดังนั้นจึงต้องนำฟิล์มไปล้างต่อในน้ำยาคงสภาพ (Fixer) ที่จะทำให้ภาพคงตัว โดยมีไฮโปหรือโซเดียมไธโอซัลเฟตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

น้ำยานี้จะทำปฏิกิริยากับเงินเฮไลต์ ทำให้เงินเฮไลต์หลุดออกมาจากฟิล์ม คงเหลืออยู่แต่ภาพเงินสีดำ ซึ่งเป็นภาพของวัตถุที่บันทึกมา ส่วนใดจะมีสีดำมากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงที่ได้รับมา ฉะนั้นลักษณะของภาพที่เกิดในฟิล์มจึงมีส่วนที่มีสีดำทึบบ้าง สีจางเป็นสีเทาบ้าง
 
ความเข้มของสีในฟิล์มนี้จะมีลักษณะกลับกันกับวัตถุที่เป็นจริง เช่น ถ้าวัตถุมีสีดำ ในฟิล์มจะใสสว่างขาว และถ้าวัตถุมีสีขาว ในฟิล์มจะมีสีดำทึบ จึงเรียกฟิล์มนี้ว่า ฟิล์มเนกาทีฟ (Nagative) เมื่อนำฟิล์มนี้ไปอัดขยายบนกระดาษอัดภาพ จะได้สีที่ภาพกลับกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพจริงเหมือนวัตถุที่ถ่ายมา เรียกว่า ภาพโพสิทีฟ (Positive)

อ้างอิง

* วิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์ Photography and Cinematography อัครเจตน์ สีหะวงษ์ Archived 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

 


 

Share this:

ABOUT THE AUTHOR

Hello We are OddThemes, Our name came from the fact that we are UNIQUE. We specialize in designing premium looking fully customizable highly responsive blogger templates. We at OddThemes do carry a philosophy that: Nothing Is Impossible

0 comments:

แสดงความคิดเห็น